เมนู

บิณฑบาต 1 เสนาสนะ 1 เภสัช 1 ครั้นจะบริโภคก็ต้องปัจจเวกขณะพิจารณาเสียก่อนจึง
บริโภค ประการ 1 พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเมื่อจะจุติก็พึงแลดูก่อนประการ 1 สิริทั้งหมดเป็น 8
ประการด้วยกัน ยถา มีครุวนาฉันใด พระบรมโพธิสัตว์เมื่อจะมาตรัสในชมพูทวีปนี้เล่า
พระองค์เจ้ารู้อยู่ว่าจะเกิดในสำนักพระพุทธบิดา พระพุทธมารดา แต่ทว่าต้องพิจารณาดูตระกูล
พระพุทธบิดา พระพุทธมารดา เพื่อจะให้รู้ว่าเป็นขัตติยมหาศาลหรือ หรือว่าพราหมณมหาศาล
ตถา เปรียบปานฉันนั้นแล ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้ทรงฟังพระนาคเสนวิสัชนาดังนี้ ก็สิ้นสงสัย
ซ้องสาธุการโดยนัยหนหลัง
โพธิสัตตัสส ธัมมตาปัญหา คำรบ 2 จบเพียงนี้

อัตตนิปาตนปัญหา ที่ 3


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชปุจฉาถามพระนาคเสนสืบ
ไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ภาสิตํปิ เหตํ ภควตา คำนี้ สมเด็จพระ
มหากรุณาเจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย ท่านอย่าพึงให้กายตัว
ของท่านตกไปโดยอธรรม แม้ท่านจะปรารถนาที่จะให้กายตัวของท่านตกไปนั้น พึงกระทำให้
ควรแก่ธรรม ตรัสฉะนี้แล้ว ปุน จ ครั้นนานมาใหม่เล่า สมเด็จพระมหากรุณาเจ้า เมื่อมีพระ
พุทธฎีกาแก่สาวกทั้งหลาย กลับทรงแสดงธรรมแนะนำให้ตัดความเกิดความแก่ความเจ็บความ
ตายเสีย สาวกรูปใดก้าวล่วงความเกิดความแก่ความเจ็บความตายได้ ก็ตรัสสรรเสริญ
สาวกรูปนั้นยิ่งนักหนา โยมมารำพึงดูคำทั้งสองนี้ไม่ต้องกัน คำเดิมนั้นว่าอย่างให้ตนตกไป คำที
หลังสอนให้ตัดความเกิดความแก่ความเจ็บความตาย ปริศนานี้นับในอุภโตโกฏิ จงโปรดวิสัชนา
ให้โยมแจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรวิสัชนาว่า ภาสิตํ เจตํ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราช-
สมภาร สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสว่า อย่าพึงทำตนให้ตกไปโดยอธรรม
พึงให้ตกไปโดยธรรม แล้วทรงแสดงธรรมแนะนำให้ตัดความเกิดความแก่ความเจ็บความตาย
เสียนั้นมีเหตุอยู่ บางแห่งพระบรมครูก็ทรงห้าม บางแห่งก็ทรงชักนำตามควรแก่เหตุ มหาราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดาว่าท่านผู้มีศีลย่อมดับพิษแห่งกิเลส อคทสโม

เปรียบดังยาอันดับพิษไข้ ถ้ามิฉะนั้น โอสถสโม เปรียบด้วยตัวยาวิเศษอันจะดับเสียซึ่งโรค
คือกิเลสแห่งสัตว์ทั้งหลาย ถ้ามิฉะนั้น อุทกสโม เปรียบดุจอุทกังอันเย็นใสจะล้างลอยซึ่ง
รโชชละ เหงื่อไคลเครื่องหมักหมมในกาย กล่าวคือกิเลสนั้น มิฉะนั้น มณีรตนมโนรหสโม
เปรียบดุจแก้วมณีมีนามชื่อว่ามโนหรจินดาย่อมจะสำเร็จความปรารถนาทุกสิ่งทุกอัน นา-
วาสโม
มิฉะนั้นเปรียบดุจหนึ่งสำเภาอันใหญ่ จะข้ามให้พ้นจากโอฆะทั้ง 4 ถ้ามิฉะนั้น สตฺถวา-
หนสโม
เปรียบเหมือนเกวียนอันจะเข็นข้ามให้พ้นจากจตุรกันดารคือชาติชราพยาธิมรณะ ถ้ามิ
ฉะนั้น วาตสโม เปรียบดุจลมย่อมจะพัดกำจัดดับเสียซึ่งเพลิงทั้ง 3 คือ ราคัคคี โทสัคคี โทหัคคี
ถ้ามิฉะนั้น มหาเมฆวุฏฺฐิสโม เปรียบดุจฝนห่าใหญ่ อันจะให้สำเร็จซึ่งความปรารถนาแห่งสัตว์
ทั้งปวง อาจริยสโม ถ้ามิฉะนั้น เปรียบปานดุจอาจารย์จะสอนศิษย์ให้ศึกษาสิ่งที่เป็นกุศล
เทสิตสโม ถ้ามิฉะนั้นดุจบุคคลบอกทางแก่คนหลงทางให้ไปพบทางอันเกษม เอวรูปํ มหาราช
พหุคุณํ อเนกคุณํ ขอถวายพระพร อันว่าบุคคลประกอบด้วยศีลนี้ มีคุณเป็นอันมาก มีคุณเป็น
อเนก เป็นกองคุณ เป็นคุณอันยิ่งและเป็นที่จะยังสัตว์ให้จำเริญอายุมิให้สัตว์ฉิบหายด้วยภัยทั้ง 4
เหตุฉะนี้ สมเด็จพระมหากรุณาเจ้าจึงบัญญัติสิกขาบท มิให้ภิกษุฆ่าตัวให้ตกไปด้วยอธรรม
แม้จะให้ตัวตกไปนั้น พึงให้ตกไปโดยธรรมสมควรแก่ธรรม คือตายด้วยศีล อย่าทำลายศีลให้
เป็นศีลเภท นี่เป็นเหตุที่มีพระพุทธฎีกาตรัสบัญญัติห้ามมิให้กระทำในกาลนั้น
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ที่ว่าทรงชักนำให้ภิกษุทั้งหลาย
ปฏิบัติตามกระแสพระธรรมเทศนา สมด้วยคำที่พระกุมารกัสสปเถระผู้แสดงปรโลกแก่พระเจ้า
ปายาสิราชัญญะ อันเป็นมิจฉาทิฐิกล่าวไว้ว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้
ประเสริฐ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย สีสวนฺโต กลฺยาณธมฺมา มีศีลมีเจตนาเป็นกุศลกัลยาณธรรม
ย่อมตั้งอยู่ในโลกได้นาน ท่านย่อมปฏิบัติเพื่อจะให้เป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่เทวดาและมนุษย์
นิกรทั้งปวง ดังนี้
มหาราช ขอถวายพระพร ประการหนึ่ง ชาติปิ แม้อันว่าชาติแห่งสัตว์อันเกิดมาเป็น
รูปเป็นกายนี้ ใช่จะเกิดมาง่าย ๆ ลำบากนักหนา ทุกฺขา ย่อมประกอบด้วยทุกข์ ชราปิ ทุกฺขา
อนึ่งเล่าแก่ชราลงแล้วร่างกายคร่ำคร่าทรุดโทรมไป ก็ย่อมประกอบไปด้วยทุกข์ พฺยาธิปิ ทุกฺขา
อันว่าเป็นโรคาพาธพยาธินี้เล่า ก็ย่อมประกอบไปด้วยทุกข์ มรณัปิ ทุกฺขํ เมื่อจะตายนั้นก็
ย่อมประกอบด้วยทุกข์ โสโก คือโศกเศร้าถึงที่รักนั้นประกอบด้วยทุกข์ ปริเทโว ความครวญ
คร่ำร่ำไรด้วยพลัดพรากจากที่รักนี้ ก็ประกอบไปด้วยทุกข์ โทมนสฺโส ความโทมนัสน้อยใจก็
เป็นทุกข์ อุปายาโส ให้สะอื้นอกคับใจด้วยจากที่รักใคร่เป็นต้นว่าบุตร ภรรยาสามี มารดา
บิดา คณาญาติมิตรสหาย อันตายไปสู่ปรโลกนั้น ย่อมประกอบด้วยทุกข์

อนึ่งสมเด็จพระพุทธสัพพัญญูผู้มีพระภาคเจ้า มีพระพุทธฎีกาตรัสพระสัทธรรมเทศนา
ไว้โดยนัยเป็นอันมาก ยุติด้วยพระบาลีเป็นต้นว่า อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค บุคคลเสพสมาคมด้วย
ชนอันเป็นศัตรูและชนอันมิได้เป็นที่รักที่ใคร่ ย่อมจะได้ทุกขเวทนา ปิเยหิ วิปฺปโยโค อนึ่งเล่า
ถ้าว่าพลัดพรากจากที่รักนั้น ย่อมจะประกอบด้วยทุกข์ อนึ่งเล่า ถ้าว่าบิดามารดาตาย บุตร
ธิดาตาย ญาติมิตรทาสกรรมกรตาย หรือญาติถึงความฉิบหายวอดวายนี้ ก็ย่อมประกอบด้วย
ทุกข์ โรคพฺยสนํ ฉิบหายด้วยโรคาพยาธิก็ประกอบไปด้วยทุกข์ โภคพฺยสนํ ฉิบหายจาก
เครื่องบริโภคคือของกิน ฉิบหายจากเครื่องอุปโภค คือสมาบัตินอกจากสิ่งของซึ่งกินได้นี้
ก็ย่อมจะได้ทุกข์ สีลพฺยสนํ ฉิบหายจากศีลที่สมาทานนั้น ก็ย่อมจะได้ทุกข์ตรอมใจด้วยกลัว
ภัยจะไปตกไหนจตุราบาย ประการหนึ่ง ภัยทั้งหลายมีเป็นอันมาก ราชภยํ คือราชภัย อัน
บรมกษัตริย์จะลงราชทัณฑ์อาญา ควรจะฆ่าก็ฆ่าเสีย โจภยํ คือภัยโจรปล้นสะดมลอบลัก
เอาทรัพย์ให้ฉิบหาย อคฺคิภยํ คือภัยแต่เพลิงไหม้เรือนให้ฉิบหาย อุทกภยํ คือค้าขายด้วย
สำเภานาวาแตกทลาย บางทีทำไร่ทำนาน้ำท่วมเสียให้ฉิบหาย อุมฺมิภยํ ภัยแต่คลื่นละลอกซัด
ให้เรือแตกทลาย และท่วมพัดนาวาบ้านช่องแล้วเครื่องใช้สอยไป กุมฺภิภยํ ภัยแต่จระเข้
เหล่าร้ายอันจะขบกัดให้ถึงแก่ความตาย อาวฏฺฏภยํ ภัยให้ตายด้วยสายน้ำวน สุํสุมารภยํ
ภัยแต่ปลาฉนากฉลาดมีเขี้ยวงาอันร้าย อตฺตานุวาทภยํ ภัยอันเนื่องมาเพราะตนกล่าว
ถ้อยคำอันมิได้เป็นที่พึงใจ ปรานุวาทภยํ ภัยอันเนื่องมาแต่ผู้อื่นก็พลอยฉิบหายด้วยกัน
ทณฺฑภยํ ภัยแต่อาญา ทุคติภยํ ภัยแต่จะต้องเสวยทุกข์ในทุคติ อชีวิกภยํ ภัยแต่ความมี
ชีวิตเป็นไปไม่ได้ถึงแก่ความตาย ล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น และการตัดมือและเท้าหูจมูกปากและ
อวัยวะส่วนอื่นเป็นต้น ก็เป็นทุกข์เหมือนกัน สัตว์ผู้เวียนวนอยู่ในสงสารวัฏย่อมได้เสวยทุกข์มี
ประการต่าง ๆ หลายชนิดเช่นนี้ มีอุปมาเหมือนน้ำที่ตกลงในภูเขาหิมพานต์แล้วไหลหลั่งไปสู่
แม้น้ำย่อมพัดเอาหินและกรวดและไม้แห้งและกิ่งไม้รากไม้น้อยใหญ่ในป่าให้ไหลลอยเป็นสวะ
มาสู่แม่น้ำอันแอเป็นแพไปจนกบฝั่งคับคั่งอยู่เป็นอเนก สุดที่จะนับจะคณนา ยถา มีครุวนาฉันใด
อันว่ามหาภัย 18 และกรรมกรณ์ 32 ซึ่งมีอย่างเป็นอันมากนี้ผู้ที่ยังเวียนว่ายอยู่ในสงสาร
จะต้องเสวยทุกประการเหมือนหินและกรวดเป็นต้น อันถูกน้ำพัดไปสู่แม่น้ำฉะนั้น มหาราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เมื่อชาติชราพยาธิมรณะยังปรากฏเป็นไปอยู่ ย่อมมี
แต่ความทุกข์ภัยเป็นอันมาก ไม่สามารถทำมรรคผลและพระนิพพานให้แจ่มแจ้งได้ ต่อเมื่อ
ดับชาติชราพยาธิมรณะได้แล้ว จึงจะมีความสุข และกระทำมรรคผลนิพพานให้แจ่มแจ้งได้
เพราะฉะนั้น สมเด็จพระจอมไตรบรมโลกุตตมาจารย์ จึงทรงชักชวนแนะนำให้สาวกล่วงชาติ
ชราพยาธิมรณะนั้นเสีย มหาราช ดูรานะบพิตร ด้วยเหตุดังถวายวิสัชนามาฉะนี้ สมเด็จพระ
มหามุนีบรมศาสดา จึงตรัสห้ามบ้าง ทรงชักนำบ้าง คือพระองค์ทรงห้ามแต่ในทางที่ไม่ควรทำ

ทรงชักนำในทางที่ควรทำ จะได้ห้ามและชักนำทั่วไปหามิได้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงพระสวนาการฉะนี้ก็สาธุการชื่นชมนิยมปรีดา
อัตตนิปาตนปัญหา คำรบ 3 จบเพียงนี้

เมตตานิสังสปัญหา ที่ 4


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลิทน์ปิ่นสาคลราชตรัสประภาษถามอรรถปัญหาอื่นสืบไปว่า ภนฺ-
เต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยญาณปรีชา ภาสิตํ เจตํ ภควตา เมตตาพรหม-
วิหารนี้ สมเด็จพระผู้มีสุนทรภาคหาตรัสพระสัทธรรมเทศนาไว้ยุติด้วยวาระพระบาลีดังนี้ว่า
เมตฺตาย ภิกฺขเว เจโตวิมุตฺติยา อาเสวิตาย ภาวิตาย พหุลีกตาย ยานีกตาย วตฺถุกตาย
อนุฏฺฐิตาย ปริจิตาย สุสมารทฺธาน เอกาทสานิสํสา ปาฏิกงฺขา กตเม เอกาทส สุขํ สุปติ สุขํ
ปฏิพุชฺฌติ น ปาปกํ สุปินํ ปสฺสติ มนุสฺสายํ ปิโย โหติ อมนุสฺสานํ ปิโย โหติ เทวตา รกฺขนฺติ
นาสฺส อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมติ ตุวฏํ จิตฺตํ สมาธิยิ มุขวณฺโณ วิปฺปสีทติ อสมฺมุฬฺโห
กาลํ กโรติ อุตฺตรึ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต พฺรหฺมโลกูปโค โหติ
ดังนี้
ใจความว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งเมตตาพรหมวิหารนี้มี 11 ประ
การ โยคาวจรภิกษุภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา อาเสวิตาย มาเสพเอาเป็นอารมณ์ด้วยจิตอัน
เป็นเจโตวิมุตติ ปรารถนาจะให้สำเร็จในพระนพโลกุตรธรรม ภาวิตาย อุตสาหะมาจำเริญภาวนา
พหุลีกตาย กระทำให้มากในสันดาน ยานีกตาย กระทำดุจยวดยานขับขี่ วตฺถุกตาย กระทำ
เป็นที่เรือกสวนไร่นาอันจะเลี้ยงชีวิต อนุฏฺฐิตาย มีเพียงอันตื่นอยู่ไม่ประมาท ปริจิตาย
ขวนขวายสะสม สุสมารทฺธาย มีอารมณ์ปรารภคำนึงในสันดานแล้ว ก็มีคุณนิสงส์ถึง 11
ประการ สุขํ สุปติ คือจะหลับเป็นสุข 1 ปฏิพุชฺฌติ จะตื่นอยู่ก็เป็นสุข 1 น ปาปกํ สุปินํ
ปสฺสติ
มิได้นอนฝันร้าย 1 มนุสฺสานํ ปิโย เป็นที่รักแก่หญิงชายชนทั้งหลายในโลกนี้ 1
อมนุสฺสานํ ปิโย เป็นที่รักแก่ภูตผีทั้งหลายนั้น 1 เทวตา รกฺขนฺติ ฝูงเทพยดาจะอภิบาลรักษา
1 นาสฺส อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมติ ไฟก็ดี ยาพิษและพิษอสรพิษก็ดี สรรพศัสตราวุธก็ดี
มิได้ทำอันตราย 1 ตุวฏํ จิตฺตํ สมาธิยติ จิตที่รวดเร็วกลับกลอกย่อมตั้งมั่น 1 มุขวณฺโณ
วิปฺปสีทติ
สีแห่งหน้าย่อมผ่องใสหมดจด 1 อสมฺมุฬฺโห กาลํ กโรติ ผู้เจริญเมตตานั้น เพื่อ